"ปวดคอเรื้อรัง" ภัยเงียบยุคดิจิทัล
อาการปวดคอเรื้อรังทำให้คุณตื่นขึ้นมาขยับหรือหมุนคอไม่ได้บ่อยแค่ไหน? ทั้งนี้ปัญหาปวดคอเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม! จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า อาการปวดคอเรื้อรังส่งผลกระทบต่อประชากรถึงร้อยละ 50-89 โดยเฉพาะในด้านคุณภาพการนอน ที่ผู้ป่วยมักประสบปัญหาการนอนหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อีกทั้งในยุคดิจิทัลที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ทั้งการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานของวัยทำงาน หรือการก้มมองสมาร์ทโฟนของคนรุ่นใหม่ ทำให้ผู้ที่มีอาการปวดคอสูงถึงร้อยละ 42 และที่น่ากังวลคือ หลายคนมองข้ามอาการเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องปกติ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความเครียด และประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง
"ปวดคอเรื้อรังไม่ใช่เรื่องเล็ก หากปล่อยไว้อาจกระทบชีวิตมากกว่าที่คิด"
5 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำร้ายคอคุณโดยไม่รู้ตัว
1. ท่านั่งและท่านอนที่ไม่เหมาะสม
> พฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันมักเกี่ยวข้องกับการนั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการก้มมองจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ รวมถึงการนอนในท่าที่ไม่สอดคล้องกับแนวกระดูกคอ เช่น การนอนผิดท่า หรือการนอนตกหมอน สิ่งเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ต้องรับแรงกดทับอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเกร็งตัวสะสมจนกลายเป็นก้อนเนื้ออักเสบ นำไปสู่อาการปวดคอเรื้อรังในที่สุด
2. การบริหารกล้ามเนื้อผิดวิธี
มี 2 ลักษณะที่พบบ่อย ได้แก่:
> การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การออกกำลังกายผิดวิธี หรือการยกของหนักต่อเนื่อง ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณคอทำงานหนักเกินกำลัง
> การขาดการบริหารกล้ามเนื้อ หรือไม่มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ทำให้กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น
ซึ่งทั้งสองกรณีนี้อาจนำไปสู่การบาดเจ็บและการอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อบริเวณคอได้
3. การเกิดอุบัติเหตุ
> อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อบริเวณคอ ไม่ว่าจะเป็นการกระแทก การหันคอผิดจังหวะ หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณคอ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจพัฒนาเป็นอาการปวดคอเรื้อรังได้
4. ภาวะเครียดและความวิตกกังวล
> ความเครียดและความวิตกกังวลมีผลโดยตรงต่อการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า โดยผู้ที่มีภาวะเหล่านี้มักจะเกิดการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งและต่อเนื่องจะนำไปสู่การอักเสบและอาการปวดเรื้อรังได้
5. ภาวะเสื่อมของกระดูกและหมอนรองกระดูก
> ปัจจัยด้านอายุและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งก้มคอเป็นเวลานาน สามารถเร่งการเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณคอและหมอนรองกระดูก ภาวะเสื่อมนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
"หยุดพฤติกรรมเสี่ยง ลดปัญหาปวดคอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"
ทำความรู้จักอาการปวดคอเรื้อรัง
ปวดร้าวกล้ามเนื้ออยู่ตลอดเวลา
มีอาการชาบริเวณร่างกาย
มีอาการปวดศีรษะ
มีปัญหาในการนอน
"รู้ทันอาการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น คือกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหาที่อาจตามมา"
5 เคล็ดลับบรรเทาปวดคอเรื้อรัง ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
> การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีธรรมชาติที่ดีที่สุดในการบรรเทาอาการปวดคอ คุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนัก เพียงแค่เลือกกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือโยคะ การเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ แต่ทำอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงและยืดหยุ่นขึ้น และช่วยคลายอาการปวดเกร็งได้ดี โดยแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที
2. บริหารคอและไหล่เป็นประจำ
> ท่าที่ 1: นำแขนซ้ายไขว้หลัง จากนั้นใช้มือขวากดและเอียงศีรษะลงไปด้านขวา จนรู้สึกตึงพอดี ค้างไว้ 15 - 20 วินาที ทั้งหมด 20 ครั้ง และสลับข้าง
> ท่าที่ 2: นำแขนซ้ายไว้หลัง จากนั้นใช้มือขวากดและเอียงศีรษะลง โดยหันหน้าก้มมองสะโพกขวา จนรู้สึกตึงพอดี ค้างไว้ 15 - 20 วินาที ทั้งหมด 20 ครั้ง และสลับข้าง
> ท่าที่ 3: นำมือ 2 ข้างผสานกันที่ท้ายทอย และก้มคอไปด้านหน้า ให้รู้สึกตึงบริเวณหลังท้ายทอยจนถึงสะบัก ค้างไว้ 15 - 20 วินาที ทั้งหมด 20 ครั้ง และสลับข้าง
3. ประคบอุ่นหรือเย็นบรรเทาอาการ
4. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน
ในชีวิตประจำวัน หลายคนอาจต้องใช้สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การก้มหน้าเพื่อมองจอจะเพิ่มแรงกดที่คอมากขึ้นและอาจทำให้อาการปวดคอเรื้อรังรุนแรงขึ้นได้ จึงแนะนำว่าควรปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ได้แก่
♦ วางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
♦ ใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงรองรับหลังอย่างเหมาะสม
♦ วางคีย์บอร์ดในตำแหน่งที่ข้อศอกทำมุม 90 องศา
♦ พักสายตาตาม "กฏ 20-20-20” หรือ การพักสายตาทุก 20 นาที มองไกล 20 ฟุต 20 วินาที เพื่อช่วยลดอาการปวด คอ บ่าที่อาจเกิดขึ้น
5. ปรับการนอนให้ถูกวิธี
> การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและลดอาการปวดคอ โดยท่านอนที่แนะนำมี 2 ท่าหลัก คือ นอนหงายโดยใช้หมอนรองใต้คอให้พอดี หรือนอนตะแคงโดยใช้หมอนที่มีความสูงเท่ากับความกว้างของไหล่ ส่วนท่าที่ควรหลีกเลี่ยงคือการนอนคว่ำ เพราะจะทำให้คอต้องบิดไปด้านใดด้านหนึ่ง
> นอกจากท่านอนแล้ว สภาพแวดล้อมการนอนก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรจัดห้องนอนให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป แสงไม่จ้าเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือบนเตียง เพราะมักทำให้เราอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว
"ปวดคอเรื้อรังไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินแก้ไข หากคุณเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้"
ดังนั้น การดูแลและป้องกันอาการปวดคอเรื้อรังสามารถเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ท่านั่ง ท่านอน ไปจนถึงการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ซึ่ง Bewell ใส่ใจทุกการออกแบบ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในทุกช่วงเวลา ด้วย 'เครื่องนอนเพื่อสุขภาพ' ที่ครบจบทุกปัญหาการนอน ได้ออกแบบหมอนที่เป็นปัจจัยสำคัญในการลดอาการปวดคอได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับ Bewell หมอนเออร์โกเคิร์ฟ (ERGOCURVE) เป็นหมอนเพื่อสุขภาพที่ออกแบบโดยนักกายภาพผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์โดยเฉพาะ เพื่อให้หมอนเออร์โกเคิร์ฟเป็นหมอนที่สามารถรองรับกระดูกคอ (C1-C7) และกระดูกสันหลังส่วนบน (T1) ได้อย่างดี โดยหมอนรุ่นนี้ทำจากพรีเมียมเมมโมรี่โฟมที่ช่วยกระจายน้ำหนักการกดทับ และมีการออกแบบที่ได้รับการจดสิทธิบัตร รองรับทุกท่านอนทั้งนอนหงายและนอนตะแคง ช่วยลดแรงกดทับของศีรษะขณะนอนหลับ ทำให้คุณนอนหลับได้อย่างสบายและลดอาการปวดคอเรื้อรังได้อย่างแท้จริง และหากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้เลย