หลายๆ คน เคยสงสัยไหมว่า 'เบาะรอง' เพื่อสุขภาพ จำเป็นอย่างไร

วันนี้จะมาไขข้อข้องใจทำไมต้องใช้ 'เบาะรอง' เพื่อสุขภาพ

ก่อนอื่นเรามาเช็คกันว่า 'คุณควรมีเบาะรองหรือไม่ '?

  • นั่งท่าไม่ถูกต้อง เช่น นั่งก้นไม่ชิดพนักพิง เป็นการส่งเสริมให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักจากการที่น้ำหนักและแรงของกระดูกสันหลังไปกดทับที่บริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และก้น ทำให้เวลานั่งทำงานนาน เกิดอาการปวดหลังได้นั่นเอง
 
  • เก้าอี้ไม่รองรับการใช้งาน เช่น เบาะรองนั่งแข็งเกินไป นั่งแล้วไม่รองรับสรีระ หรือนั่งแล้วปวดกระดูกก้นกบ
 
  • นั่งแล้วมีช่องว่างระหว่างหลัง ทำให้กล้ามเนื้อหลังหดเกร็ง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นั่งไม่ถูกท่า และเกิดอาการปวดเมื่อยตามมาร่างกาย
 
  • นั่งทำงานกับพื้นแข็ง จะส่งเสริมให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังและกระดูกก้นกบได้
 
  • ปวดหลังและกระดูกก้นกบ อาการนี้เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด เมื่อคุณทำพฤิตกรรมตามข้อที่กล่าวมาข้างบน และร้ายแรงที่สุด เมื่อคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังคงนั่งท่าเดิม อาจส่งผลให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
หลายๆ คนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ และต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน แล้วยังต้องเจอกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น ลักษณะโต๊ะทำงานพอดีกับจอคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ไม่รองรับสรีระ และปัญหาที่มักจะพบอยู่บ่อยๆ คือ การมีช่องว่างระหว่างหลังกับพนักพิงเก้าอี้มากเกินไป เรียกได้ว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาปวดหลัง และปวดเมื่อยตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรม การรับมือที่ดี และตอบโจทย์มากที่สุด โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานให้ยุ่งยากก็คือ การเลือกใช้'เบาะรอง'เพื่อสุขภาพ ที่สามารถช่วยลดแรงกดทับจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน การกระจายน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยปรับท่านั่งให้หลังตรง เหมาะกับสรีระศาสตร์ และสภาพแวดล้อมของที่ทำงานทั้งโต๊ะและเก้าอี้ได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
  1. เลือกเบาะรองให้ถูกกับลักษณะการใช้งาน
ประเภทของเบาะรองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะของการใช้งานและตำแหน่งในการใช้ดังนี้
  • เบาะรองหลัง เป็นเบาะที่ช่วยปรับลักษณะท่านั่ง หลีกเลี่ยงการนั่งหลังงอและส่งผลให้หลังค่อมได้หากนั่งเป็นเวลานาน ตัวเบาะออกแบบมาให้รับกับสรีระด้านหลัง รวมถึงรองรับกระดูกสันหลัง โดยส่วนมากจะมีสายรัดกับเก้าอี้เพื่อให้ปรับมุมได้ตามความเหมาะสม
 
  • เบาะรองนั่ง เป็นเบาะที่ช่วยลดการปวดสะโพกและก้นกบ จากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรเลือกใช้เบาะที่มีความหนาพอดีและแข็งแรงความสูงต้องพอดีกับระดับตัว นั่งแล้วเท้าราบกับพื้นได้พอดี 
  1. ตำแหน่งการวางเบาะต้องเหมาะสม 
  • เบาะสำหรับรองหลัง ให้ใช้ด้านที่มีร่องออกด้านนอกเพราะเป็นด้านที่รองรับกับแผ่นหลังได้พอดี เข้ากับสรีระในขณะที่นั่งเก้าอี้ ทำให้แผ่นหลังได้รับการสัมผัสในตำแหน่งที่ถูกต้อง เวลานั่งจะไม่อึดอัด 
 
  • เบาะรองนั่งให้เอาด้านเว้าของเบาะเข้าด้านในแทนเพราะจะช่วยลดการกดทับบริเวณกระดูกก้นกบได้ รองรับกับสรีระรวมถึงขาทั้งสองข้าง
  1. ปรับระดับให้เหมาะสมกับท่านั่ง  
  • เบาะรองหลังไม่ควรอยู่ในระดับที่สูงมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท่านั่งไม่ถูกต้อง นั่งไม่สบายจากการที่เบาะรองหลังดันหลังที่มากไป 
 
  • เบาะรองนั่งควรวางในตำแหน่งที่พอดีและรองรับขาทั้งสองข้าง เพื่อให้ช่วยลดการกดทับ โดยเฉพาะบริเวณใต้ข้อพับเข่า เวลานั่งจะไม่ส่งผลให้เกิดการชาหรือเป็นตะคริว
  1. มีขนาดพอเหมาะกับเก้าอี้
  • เบาะรองหลัง ควรรองรับกระดูกสันหลังและช่วยให้กระดูกสันหลังเหยียดตรงในท่าที่สบายไปพร้อมกัน เบาะรองหลังที่ดีควรออกแบบมาให้รองรับกระดูกสันหลังขณะนั่งเพื่อลดการกดหรืองอของกระดูกสันหลังในท่านั่งซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการออฟฟิศซินโดรม 
 
  • บาะรองนั่ง ควรมีความหนาพอดีเบาะที่รับน้ำหนักได้ดีจะช่วยให้นั่งนาน รวมถึงช่วยลดการทำงานของสะโพก ไม่ต้องพยุงน้ำหนักตัวนาน ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการนั่งทำงานได้อีกด้วย
  จากงานวิจัยใน Grodin D., Triano J. และคณะ ที่ทำงานวิจัย เรื่องผลของหมอนรองหลังต่อลักษณะของกระดูกสันหลังส่วนเอวในผู้ที่นั่งทำงานนานๆ โดยทำการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่มีทั้งอาการปวด และไม่ปวดหลัง 28 คน พบว่า เมื่อใช้เบาะรองหลังแล้วตัวกระดูกและกล้ามเนื้อหลังมีการทำงานใกล้เคียงการทำงานแบบธรรมชาติมากขึ้น ข้อมูลอ้างอิง https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3766244/
ดูบทความสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bewellstyle.com/blog/do-dont-back-pillow-and-seat-pillow/