The store will not work correctly in the case when cookies are disabled.
Bewell App - Health Tips
-
บทความนี้เขียนเพื่อหนุ่มสาวชาวออฟฟิศโดยเฉพาะเลย หรือผู้ที่นั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะขับรถ หรืออะไรก็แล้วแต่ รวมถึงสาวมั่นทันสมัยที่ชอบนั่งไขว้ห้างอยู่ประจำ ควรต้องมารู้จักกับ กระเบนเหน็บ อาการที่เป็นกันเยอะ แต่น้อยคนที่จะรู้จักมัน
รู้จักกับกระเบนเหน็บกันก่อน
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการปวดกระเบนเหน็บเป็นอาการที่เกิดขึ้นที่กระดูกสะโพกส่วนล่าง หรือกระดูกข้อสะโพก จุดที่เชื่อมต่อระหว่างปลายกระดูกสันหลัง กับกระดูกเชิงกราน ซึ่งทำให้สับสนกับโรคของกระดูสันหลังมากๆ อาการปวดกระเบนเหน็บ ก็เกิดจากการที่ภาวะกระดูกข้อต่อก้นกบมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เนื่องจากกระเบนเหน็บเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างร่างกายส่วนบน (กระดูกสันหลัง) กับร่างกายส่วนล่าง (กระดูกเชิงกราน) เลยทำให้รอบๆ กระเบนเหน็บรายล้อมไปด้วยเอ็น ข้อต่อต่างๆ มากมาย การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกระดูกข้อต่อก้นกบนี้ เช่น เคลื่อนไหวน้อยลง มากเกินไป หรือมีการยึด ติด รั้งของเส้นเอ็นที่ยึดข้อกระดูกต่างๆ
-
จัดกระดูก แล้วมีเสียงกร๊อบแล้วมันฟิน รู้สึกโล่ง เบา สบาย คล่องตัว และยังเป็น 1เทคนิคการรักษาอาการปวดเมื่อยที่เป็นที่นิยม ให้ความสนใจ แต่ ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ มีข้อห้ามและข้อควรระวังอยู่เช่นเดียวกัน
การ จัดกระดูก ในที่นี่หมายถึงกระดูกสันหลัง คือ การเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูก ลดอาการปวด จัดแนวของกระดูก ผ่านการใช้มือของผู้รักษา ไคโรแพรคเตอร์ นักกายภาพบำบัด โดยจะต้องผ่านการตรวจร่างกายเบื้องต้นว่าต้องได้รับการรักษาโดยการจัดกระดูกเพื่อแก้ปัญหา ผ่านการคัดกรองข้อห้ามและข้อควรระวังในการรักษา เพื่อความปลอดภัยของผู้รับการรักษา
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการจัดกระดูก
-
‘นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย’ ปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการแก้ไข เพราะโรคนอนไม่หลับไม่ใช่เรื่องดี อาจส่งผลต่อเสียต่อร่างกาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์อ่อนไหวง่าย และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคในด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคความดันโลหิตสูง และพบว่าปัญหานอนไม่หลับสามารถเพิ่มโอกาสป่วยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้าได้มากถึง 2 เท่า อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐานะ ต้องใช้เงินในการตรวจและรักษาค่อนข้างสูง รวมไปถึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพกับผู้อื่น และคุณภาพในการใช้ชีวิตลดลงตามไปด้วย
5 ปัญหาอาการนอนไม่หลับที่ควรรู้ไว้
1.ความเครียด
ปัญหาที่สามารเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ยิ่งเฉพาะกับพนักงานออฟฟิศที่งานล้นมือ ทำงานไม่ทัน หรือคิดงานไม่ออก ขายงานไม่ได้ ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นอาจจะหายไปเมื่อทำงานผ่านลุล่วงไปได้ดี แต่หลายคนก็มีความเครียดสะสม
-
ทำไม 'โรคออฟฟิศซินโดรม' ไม่หายขาด ? เชื่อว่าหลายคนต้องเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองว่าอาการปวดคอบ่า ทำไมไม่หายไปสักที ไปหาหมอนวดก็ดีขึ้นทีหนึ่ง หรือไปทำกายภาพก็ดีขึ้นช่วงหนึ่ง สุดท้ายก็กลับมาเป็นแบบเดิมอีก วนไปแบบนี้ หาจุดจบของเรื่องนี้ไม่ได้เลย แต่วันนี้ แอมป์ในฐานะนักกายภาพบำบัด อยากจะมาเล่าให้ฟังถึง 5 เหตุผลที่บอกลาโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ออฟฟิศซินโดรม” กันก่อน ในทางการแพทย์โรคออฟฟิศซินโดรมที่ทุกคนรู้จักจะมีชื่อเรียกว่า “Work-related Musculoskeletal Disorders : WMSDs” เป็นภาวะที่เกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ ของเอ็น กล้ามเนื้อ ในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นประจำ เช่น การนั่งทำงานในท่าหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือลักษณะการวางแขนและมือทำให้บ่าไหล่เกร็งยก
-
ปัญหาทางสุขภาพจากการทำงานที่นอกจากอาการออฟฟิศซินโดรม ทุกคนคงเคยประสบปัญหาเหล่านี้แน่นอน “ตาล้า” ตาแห้ง ระคายเคืองตา แสบตา หรือคันตา ปัญหาที่เกิดจากการจ้องมองจอคอม เอกสาร จอมือถือ หรือจอทีวีนานมากเกินไป ซึ่งในวงการแพทย์เรียกว่าภาวะนี้ว่า “Computer vision syndrome” ซึ่งนอกจากอาการตาล้าแล้วนั้นอาจเกิดอาการปวดหัว เวียนหัว หรือปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ร่วมด้วยได้
ทำไมตาล้าจากการมองจอ
ปัญหาแสงไฟไม่พอ เช่น ห้องมืดเกินไป ไฟในห้องมีดวงเดียว แสงไฟในตำแหน่งที่ทำงานสลัว หรือแสงไฟที่ส่องสว่างไม่เพียงพอ ปัญหาเหล่านี้ทำให้เราต้องใช้สายตามากเกินไป ต้องเอาหน้าเข้าไปใกล้กับสิ่งที่เรามองจนทำให้สายตาเราล้าได้ และยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นการใช้สายตาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามทางกายภาพของร่างกาย ซึ่งในห้องทำงานจึงควรมีแสงไฟที่เพียงพอต่อการใช้งาน
-
หลายๆคนคงเคยมีอาการปวดสะบักร้าวลงแขนบอกเลยว่าเป็นได้หลายโรคมากกก เป็นได้ทั้งอาการเริ่มต้นของโรค หรือ เป็นอาการเรื้อรังจากโรคแล้วก็ได้ และ สาเหตุของอาการปวดสะบักร้าวลงแขนมาจากไหนนั้น ตามอ่านและเช็คอาการกันได้เลย
อาการปวดสะบักร้าวลงแขน
จากกล้ามเนื้อเกร็งตัวจนเกิดเป็นปมกล้ามเนื้อ (trigger point) และ ผังผืดเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมในการทำงาน
- นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
- จับเมาส์บ่อยๆ ใช้คีย์บอร์ดเป็นประจำ หรือแม้แต่การใช้ smartphone
- การนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง นั่งในท่าที่สบาย มักไม่ดีต่อกล้ามเนื้อของเรา
มักเป็นจุดเริ่มต้นของอาการ office syndrome , สะบักจม ,หรือ อาการหายใจไม่อิ่ม
-
ปวดท้ายทอย เพราะนั่งผิด หลายๆคนอาจจะไม่ได้ระวัง 1 พฤติกรรมที่ทำให้มีอาการปวดท้ายทอยแบบไม่รู้ตัว และ เป็นต้นเหตุของอีกหลายๆโรคตามมาได้อีกด้วย ขณะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เรามีพฤติกรรมคอยื่นแบบไม่ได้ทันระวัง ปวดท้ายทอยอย่างเดียว หรือ ปวดร้าวไปบริเวณอื่น เป็นแบบไหนได้บ้าง
-
จอมอนิเตอร์อยู่ห่างเกินไปจนเราต้องก้มหน้าเข้าไปหาจอ
-
ระดับความสูงของขอมอนิเตอร์ไม่พอดีกับตัวเรา ต้องเงย หรือ ก้ม เป็นประจำ
-
ระดับความสูงของแฟ้นพิมพ์สูงจนเราต้องยักไหล่